Sunday, March 31, 2019

ความเครียด
ความเครียดคืออะไร
                     ความเครียด คือการหดตัวของกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนของร่างกาย  ซึ่งทุกคนจำเป็นต้องมีอยู่เสมอในการดำรงชีวิต เช่น การทรงตัว เคลื่อนไหวทั่วๆไป ทุกครั้งที่เราคิดหรือมีอารมณ์บางอย่างเกิดขึ้นจะต้องมีการหดตัว เคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อแห่งใดแห่งหนึ่งในร่างกายเกิดขึ้นควบคู่เสมอ ความเครียดเกิดจาก สิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดการปรับตัว และถ้าไม่สามารถปรับตัวได้จะทำให้เกิดความเครียด 
ที่มา:http://www.si.mahidol.ac.th

Wednesday, March 27, 2019

สาเหตุความเครียด 

สาเหตุหลักของความเครียด

สาเหตุของความเครียดมีด้วยกันหลากหลายประการไม่รู้จบ แต่สาเหตุยอดฮิตที่น่าสนใจ และพบได้บ่อยๆก็มีหลักๆ อยู่เพียง 3 ประการ
ความเปลี่ยนแปลง
เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียดได้ง่ายมาก หากร่างกายและจิตใจยังไม่ได้ปรับตัวให้พร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลงนั้น โดยความเครียดมักจะเกิดขึ้นในช่วงก่อนที่จะเปลี่ยนแปลง(มีการรับรู้) และหลังเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ยกตัวอย่างง่ายๆเช่น การย้ายที่อยู่อาศัย ที่เรียน หรือที่ทำงาน หากใครที่ใจไม่ได้เตรียมพร้อมกับเรื่องพวกนี้มักจะมีความกังวลภายในจิตใจเสมอ ทั้งนี้ความเปลี่ยนแปลงทำให้มนุษย์เครียดได้มากที่สุด ไม่เว้นแม้แต่สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ก็สามารถที่ให้เกิดความเครียดในใจของเราได้เช่นกัน
ความไม่ได้อย่างใจ
การที่มีเหตุการณ์ที่ไม่เป็นไปตามความคาดหวังของเรา ก็จะเกิดความเครียดขึ้นมาในจิตใจของเราทันที เป็นอีกสาเหตุสำคัญของความเครียดที่เกิดขึ้นกับทุกๆคนในทุกวัน การที่เรานั้นมีสภาพการจัดการสภาวะทางอารมณ์ที่ต่ำ ความเครียดก็จะเข้ามาสู่จิตใจของเราได้ง่ายกว่าปกติ
ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการงาน เรื่องชีวิต หรือแม้แต่การเลือกตัวเลือกในห้องสอบ โดยที่เราไม่อาจรู้ผลที่จะเกิดขึ้นได้ เป็นสาเหตุที่สำคัญของความเครียดอีกประการหนึ่งเลยทีเดียว โดยความเครียดจะเกิดขึ้นทั้งก่อนและหลังตัดสินใจ จนกว่าผลของการตัดสินใจนั้นจะออกกมา และในบางครั้งยังส่งผลกะทบแม้ว่าผลนั้นจะออกมาแล้วก็ตาม การต้องตัดสินใจในเรื่องที่ไม่มีความพร้อม หรือข้อมูลไม่เพียงพอจึงก่อให้เกิดความเครียดต่อจิตใจเราได้ไม่น้อยไปกว่าความเปลี่ยนแปลงเลยทีเดียว

สาเหตุอื่นๆ ที่ส่งผลให้เกิดความเครียด

นอกจากสาเหตุหลัก 3 ประการในข้างต้นแล้วยังมีสาเหตุอื่นๆที่ส่งผลให้เราเกิดความเครียด สิ่งที่น่าสนใจคือบางสาเหตุนั้น เราไม่รู้ตัวเสียด้วยซ้ำว่าความเครียดก็เกิดจากสาเหตุเหล่านี้ได้เช่นกัน
การเสพสื่อต่างๆมากเกินไป
การที่เราอยู่บนโลกออนไลน์รับข้อมูลข่าวสารต่างๆตลอดเวลาก็เป็นสาเหตุของความเครียดได้เช่นกัน มีงานวิจัยในปี2010 ในต่างประเทศยืนยันแล้วว่า ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในปริมาณมากๆจะเกิดความเครียดได้ง่ายกว่าปกติ ไม่เว้นแม้แต่การดูละคร หรือภาพยนตร์ ก็สามารถทำให้จิตใจเราเครียดได้เช่นกัน แม้กระทั่งการรอคอยที่จะดูตอนต่อไปของละคร ก็เป็นสาเหตุของความเครียดได้เช่นกัน ใครที่ติดเฟซบุ๊ก ติดละครอย่าคิดว่าเป็นการคลายเครียดเสมอไป
การรับประทานอาหารไม่ครบตามที่ต้องการ

ที่พบบ่อยคืออาการขาดน้ำตาลในกระแสเลือด มักจะเกิดในผู้ที่กำลังควบคุมอาหาร หรือลดน้ำหนัก การที่เรามีน้ำตาลในเลือดไม่สมดุลส่งผลให้ร่างกายเกิดความเครียดได้เช่นกัน การขาดไขมันชนิดโอเมกา3 ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของความเครียดได้เช่นกัน การรับประทานปลาทะเลอาจช่วยให้ระดับความเครียดของเราลดลง เนื่องจากมีส่วนในการช่วยควบคุมการหลั่งของฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้อย่างเซโรโทนิน
การรับประทานยาบางชนิด
การรับประทานยาบางชนิดส่งผลให้เกิดความเครียดได้เช่นกัน อันดับแรกที่พบบ่อยที่สุดคือยาคุมกำเนิด เนื่องจากมีฤทธิ์ที่ส่งผลต่อฮอร์โมนโดยตรง จึงมีส่วนที่ให้เกิดความเครียด ใครที่เครียดง่ายอยู่แล้วควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาชนิดนี้ ยาที่มีผลต่อฮอร์โมนชนิดอื่น เช่นยารักษาสิวบางชนิด ก็ส่งผลต่อความเครียดได้เช่นกัน ยาอีกประเภทหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดความเครียดได้ง่ายคือยาที่ส่งผลต่อประสาทต่างๆ เช่นยากล่อมประสาท ยานอนหลับ เป็นต้น
การพักผ่อนไม่เพียงพอ
การนอนน้อย หรือนอนไม่เป็นเวลา นอกจากจะส่งผลโดยตรงต่อร่างกายในแง่ทำให้ร่างกายอ่อนเพลียแล้ว ยังส่งผลต่อสภาพจิตใจอีกด้วย นอกจากจะทำให้เราหงุดหงิดได้ง่ายแล้ว ยังทำให้เกิดความเครียดได้ง่ายอีกด้วย มีงานวิจัยยืนยันแล้วว่าผู้ที่นอนไม่พอจะเป็นโรคเครียดได้ง่ายกว่าผู้ที่พักผ่อนเพียงพอ สาเหตุสำคัญมาจากการที่สมองไม่ได้รับการซ่อมแซมเนื่องจากขาดการพักผ่อน ทำให้การทำงานบางส่วนผิดปกติ เป็นสาเหตุให้เกิดความเครียดได้ง่ายขึ้น
การสูบบุหรี่
สารนิโคตินในบุหรี่ เป็นสารที่มีฤทธิ์ก่อกวนการทำงานของสารที่ส่งผลโดยตรงในเรื่องของความเครียด นี่เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำไมผู้ที่เลิกบุหรี่ถึงมีอาการเครียดอย่างมาก เมื่อสารในสมองถูลบกวนจึงเป็นสาเหตุของอาการซึมเศร้า หรือหงุดหงิดง่าย
มีสาเหตุของของความเครียดอีกมากมายที่ไม่ได้กล่าวถึงในข้างต้น เช่นการป่วยเป็นโรคต่างๆ และสภาพแวดล้อมต่างๆ เป็นต้น

Wednesday, February 27, 2019

โรคจากความเครียด

โรคจากความเครียด

1. โรคหัวใจขาดเลือด – ความเครียดมีผลต่อหัวใจและหลอดเลือดหัวใจคือ ทำให้เกิดความผิดปกติของระบบประสาท ซิมพาเทติก ทำให้โรคหัวใจขาดเลือดทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น และเร่งให้เกิดการทำลายชั้นเซลล์ของผนังหลอดเลือดแดง

2. ความดันโลหิตสูง – มีการศึกษาพบว่าผู้ที่มีความวิตกกังวลอยู่เป็นประจำมีโอกาสเกิดความดันโลหิตสูงมากกว่าคนปกติถึง 2 เท่า นอกจากนี้ผู้ที่มีภาวะความเครียดจากงานซึ่งมีผลมาจากความทะเยอทะยานสูงโดยขาดการยับยั้งใจ จะทำให้ความดันโลหิตสูงและหัวใจช่องซ้ายโต

3. โรคเบาหวาน – ในผู้ป่วยโรคเบาหวานพบว่าปัจจัยด้านจิตใจมีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาล เพราะฮอร์โมนซึ่งเกิดเนื่องจากความเครียดจะผลต่อการตอบสนองของอินซูลิน ทำให้ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้

4. โรคหอบหืด – ความวิตกกังวลจะเป็นตัวกระตุ้นให้อาการหอบหืดทรุดหนักไปอีก เนื่องจากผู้ป่วยมีประสบการณ์หายใจไม่ออกรุนแรงซ้ำๆ เมื่อเกิดความเครียดวิตกกังวลว่าจะหายใจไม่ออกจึงเป็นการกระตุ้นอาการโรคขึ้นมาอีก

5. ภาวะหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ – ความเครียดฉับพลันมีผลอย่างมากต่อเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจซึ่งจะทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ และในผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอยู่ก่อนแล้วมีโอกาสหัวใจวายสูงขึ้น

6. ข้ออักเสบรูมาทอยด์ – พบว่าบุคลิกภาพของผู้ป่วยโรคนี้มีลักษณะที่สัมพันธ์กับความเครียดอยู่มากทีเดียว เช่น การเก็บกด ชอบความสมบูรณ์แบบ ชอบความโดดเดี่ยว ไม่ค่อยแสดงอารมณ์ ชอบความเจ็บปวดและมีอารมณ์ซึมเศร้าร่วมด้วย จึงอาจกล่าวได้ว่าความเครียดมีแนวโน้มกระตุ้นให้เกิดโรค

7. โรคแผลในกระเพาะอาหาร – ปัจจัยทางจิตใจมีผลทำให้สารคัดหลั่งในกระเพาะอาหารออกมามาก นอกจากนี้วิถีชีวิตที่เครียดจะทำให้เกิดความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งทำให้เกิดความอ่อนแอต่อการได้รับเชื้อ H. pyroli ซึ่งเป็นเชื้อโรคชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารได้

8.รคผิวหนัง– โรคผิวหนังบางชนิดพบว่ามีความผิดปกติของระบบประสาทด้วย ดังนั้นหากเกิดความเครียดยิ่งจะทำให้อาการโรคผิวหนังกำเริบขึ้นอีก เช่น อาการลมพิษที่อาจเกิดขึ้นตามหลังการเกิดความเครียดฉับพลัน

9. ภูมิแพ้ – ความเครียดจะไปกดระบบภูมิคุ้มกันโดยผ่านฮอร์โมนชนิดหนึ่ง ในขณะเดียวกันความเครียดยังไปกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันอื่นๆ แต่มีผลให้ระบบภูมิคุ้มกันพร่องไป และอาจทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น

10. มะเร็ง – มีการศึกษาหนึ่งพบว่า หนูที่มีสารก่อมะเร็งเมื่อถูกกดดันให้เครียด จะมีอัตราการลุกลามของมะเร็งเร็วกว่าหนูที่ไม่ได้ถูกกระตุ้นให้เครียด จึงอาจกล่าวได้ว่าความเครียดเป็นปัจจัยสำคัญในการลุกลามของโรค นอกจากนี้นักวิจัยชาวอเมริกาจากศูนย์มะเร็งพิตเบิร์กพบว่า ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่รู้สึกว่าไม่ได้รับกำลังจากครอบครัว เซลล์มะเร็งจะมีปัญหามากขึ้นกว่าผู้ป่วยในโรคเดียวกัน

11. ไมเกรน – ความเครียดส่งผลให้สารซีโรโทนินในสมองพร่องไป การขาดซีโรโทนินจะทำให้หลอดเลือดเกิดพองขยายและหดตัวมากกว่าปกติ จึงทำให้เกิดอาการปวดหัวไมเกรนได้

12. อาการปวดกล้ามเนื้อและนอนไม่หลับ – ความเครียดเรื้อรังจะส่งผลให้กล้ามเนื้อทั่วร่างกายเกิดการตึงตัว และทำให้มีอาการปวดเมื่อยเนื้อตัว รวมไปถึงกระตุ้นวงจรการนอนหลับให้ผิดปกติ

13. อาการผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ – ความเครียดส่งผลให้ความต้องการทางเพศลดลง มีการปวดประจำเดือน และมีโอกาสเป็นหมัน และพบว่าผู้ที่เครียดบ่อยๆพบการแท้งขณะตั้งครรภ์ได้บ่อย

ที่มา : https://goodlifeupdate.com/healthy-body/disease/8352.html
        : https://www.honestdocs.co/

ความเครียด ความเครียดคืออะไร                       ความเครียด คือการหดตัวของกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนของร่างกาย    ซึ่งทุกคน...